OS X ใช้งานได้ไม่ต้องมี Mac ก็ใช้ได้ผ่าน VMware

อหนึ่ง บทความนี้ถูกเขียนขึ้นเมื่อวันที่ December 22, 2016 ซึ่งผมย้ายมาจากเว็บไซต์ส่วนตัว จึงอาจจะมีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่ได้ up-to-date เท่าที่ควร

 

สวัสดีครับ สำหรับใครที่สนใจอยากจะใช้งาน Mac OS X หรือระบบปฏิบัติการ (Operating System) ของ Apple แต่ไม่มีงบเพียงพอที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ Mac ก็สามารถที่จะใช้งาน OS X ผ่านคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คที่ท่านมีอยู่แล้วได้ เพียงติดตั้ง VMware Workstation Player ซึ่งเป็น software ของทางบริษัท VMware ที่จะช่วยจัดการเกี่ยวกับการทำ virtual machine ให้สามารถมีหลายระบบปฏิบัติการได้โดยใช้ hardware เดียวกัน (multiple operating systems) ซึ่งเจ้า VMware Player ตัวนี้รองรับการติดตั้งทั้งบน Windows และ Linux

วิธีการดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม VMware Workstation Player

 
  1. ไปยังเว็บไซต์ VMware Workstation Player — VMware Products
  2. ดาวน์โหลดโปรแกรมให้ตรงกับระบบปฏิบัติการของท่าน
  3. ติดตั้งโปรแกรมตามปกติ

หมายเหตุ: แนะนำให้เลือกตัวเลือกนี้ในระหว่างการติดตั้ง

 

เมื่อติดตั้งโปรแกรม VMware Workstation Player เสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ

การดาวน์โหลด Mac OS 10.11 El Capitan

1. ดาวน์โหลดไฟล์ image สำหรับ OS X 10.11 El Capitan Retail by TechReviews ซึ่งมีขนาดประมาณ 6.5 GB ได้ที่นี่
(หรือหากอยากได้ Sierra 10.12 (16A323) VMWare Image)

2. ทำการแตกไฟล์ไว้ในที่ใดก็ได้ ภายในโฟลเดอร์ชื่อ OSX เป็นต้น

 

3. เข้าไปยัง path ดังรูปข้างล่าง เพื่อคลิกขวาที่ไฟล์ win-install.cmd

 

4. คลิกขวาและเลือก Run as administrator เพื่อให้โปรแกรมทำการ

 

5. จะมีหน้าต่าง Windows Command Prompt ขึ้นมาทำงานและถูกปิดไปอัตโนมัติ เท่านี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนการเตรียม OSX

เริ่มใช้งาน VMware Workstation Player กับ OS X

1. ให้ทำการเปิดโปรแกรม VMware Workstation Player ขึ้นมา
 หากมีให้เลือกการใช้งาน ให้เลือก Non-commercial use โดยการกรอกอีเมลเข้าไป

 

 

2. เลือกไฟล์ OS X 10.11 El Capitan.vmx จากโฟลเดอร์ก่อนหน้า
 หมายเหตุ: นามสกุล “.vmx” คือ เป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลการตั้งค่า (configuration file) ไว้สำหรับ virtual machine

 

3. ให้กด Edit virtual machine settings เพื่อตั้งค่า (optional: ไม่จำเป็นต้องตั้งค่าก็ได้ หากพอใจแล้ว)

 

4. เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านกดปุ่ม Play virtual machine ได้เลยครับ

5. จะพบกับหน้าต่างดังนี้

 

6. หากมีให้เลือก update value ของ keyboard hook timeout ให้กด Yes

 

7. หมายเหตุ: ขั้นตอนการเลือก Install Tools อาจไม่ตรงกันตามลำดับขั้น หากขึ้นมา ให้เลือก Install Tools เลย

8. เลือกประเทศและกด continue

 

9. เลือก keyboard layout เป็น US และกด continue

 

10. เลือก Don’t transfer any information now และกด continue

 

11. ไม่เลือก Enable Location Services on this Mac และกด continue

 

12. กรอก Apple ID และ password เพื่อทำการ sign in หากมี pop up ขึ้นมาให้เลือกสำหรับ Find My Mac ก็ให้เลือก Not Now เนื่องจาก เป็นแค่ virtual machine ไม่ต้องให้ค้นหาก็ได้

 

13. ยอมรับ Terms and Conditions

 

14. สร้าง account สำหรับเข้าสู่ระบบของ OS X ในที่นี้จะใช้เป็น local account คือสร้าง account ขึ้นมาใหม่ของเครื่องโดยไม่ใช้ Apple ID ในการ login

 

15. เลือก Time Zone ของเรา ผมจะเลือกเป็น Bangkok — Thailand

 

16. เลือก Diagnostics & Usage ตามใจชอบ หากไม่คิดอะไรมากก็กด continue ได้เลย

 

17. รอสักครู่ ระบบกำลังทำการตั้งค่า

 

18. ทีนี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนการตั้งค่า OS X เริ่มต้นแล้ว

OS X พร้อมเริ่มใช้งานแล้ว

1. ก่อนอื่นใด ท่านควรจะกดปุ่ม Enter full screen mode ก่อน เนื่องจากมันจะทำให้ VMware รู้จักการตั้งค่า full screen ของ virtual machine นี้

 

2. Double click ที่ VMware Tools

 

3. คลิก Install VMware Tools

 

4. กด Continue ในขั้นตอน Introduction และ Install ในขั้นตอน Installation Type

5. กรอก username และ password เพื่อยืนยันการติดตั้ง

 

6. กด continue installation เพื่อยอมรับการ restart เครื่องหลังจากติดตั้ง VMware Tools เสร็จเรียบร้อย

 

7. การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์

 

8. หลังจากนั้น virtual machine จะทำการ restart เองโดยอัตโนมัติ

9. เมื่อ OS X ถูกเปิดขึ้นมาใหม่ ก็ sign in เข้าระบบตามปกติ

 

10. เปลี่ยนชื่อ drive ที่อยู่บนหน้าจอให้กลายเป็น OSX

 

เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ได้ OS X มาใช้งานโดยไม่ต้องซื้อ Mac ราคาแพง บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คของท่านกันแล้ว

 
 


ทิ้งคำตอบไว้

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.